วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553

หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันนี้ สภาพภูมิอากาศของโลกอยู่ในภาวะวิกฤติอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะโลกร้อน อันเนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน คือ เกิดจากการกระทำของมนุษย์ที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวโดยเฉพาะปัญหาการบุกรุกทำลายป่า การเกิดไฟป่าตามธรรมชาติ การเผาไหม้เชื้อเพลิงจากถ่านหิน น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ควันพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ฝุ่นละอองจากการทำเหมืองแร่และควันพิษจากไอเสียรถยนต์ ซึ่งมลภาวะเหล่านี้ ส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตทั้งทางบกและทางทะเล รวมถึงผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนอีกด้วย
ดังเช่นปัจจุบันจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียงมักประสบปัญหามลพิษทางอากาศ สาเหตุเกิดจากการเผาป่า การเผาเศษวัสดุทางการเกษตรเพื่อเตรียม การเพาะปลูก การจุดไฟสุมไล่แมลง การเผาเศษใบไม้กิ่งไม้ใบไม้ การเผาขยะมูลฝอยของประชาชน นอกจากนั้นยังมีแหล่งกำเนิดอื่นๆ เช่น จากยานพาหนะ การปิ้งย่าง การจุดพลุ การจุดธูปเทียนและการเผาศพ
ดังนั้นข้าพเจ้าจึงเกิดความสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการเกิดไฟป่าในประเทศไทย เพื่อที่จะทำให้ทราบว่าสถิติของการเกิดไฟไหม้ป่ามีเท่าใดบ้าง สาเหตุที่ทำให้เกิดไฟไหม้ป่าของแต่ละพื้นที่เกิดจากสาเหตุใด และเปรียบเทียบการเกิดไฟไหม้ป่ากับปีก่อนๆ

การเกิดไฟป่าในประเทศไทย

การเกิดไฟป่าในประเทศไทย
ประเภทของป่าไม้ในประเทศไทย
ป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์อื่นๆ เพราะป่าไม้มีประโยชน์ทั้งการเป็นแหล่งวัตถุดิบของปัจจัยสี่ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรคสำหรับมนุษย์ และยังมีประโยชน์ในการรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อม ถ้าป่าไม้ถูกทำลายลงไปมาก ๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น สัตว์ป่า ดิน น้ำ อากาศ ฯลฯ เมื่อป่าไม้ถูกทำลาย จะส่งผลไปถึงดินและแหล่งน้ำด้วย เพราะเมื่อเผาหรือถางป่าไปแล้ว พื้นดินจะโล่งขาดพืชปกคลุม เมื่อฝนตกลงมาก็จะชะล้างหน้าดินและความอุดมสมบูรณ์ของดินไป นอกจากนั้นเมื่อขาดต้นไม้คอยดูดซับน้ำไว้น้ำก็จะไหลบ่าท่วมบ้านเรือน และที่ลุ่มในฤดูน้ำหลากพอถึงฤดูแล้งก็ไม่มีน้ำซึมใต้ดินไว้หล่อเลี้ยงต้นน้ำลำธารทำให้แม่น้ำมีน้ำน้อย ส่งผลกระทบต่อมาถึงระบบเศรษฐกิจและสังคม เช่น การขาดแคลนน้ำในการการชลประทานทำให้ทำนาไม่ได้ผลขาดน้ำมาผลิตกระแสไฟฟ้า

ประเภทของป่าไม้ในประเทศไทย
ประเภทของป่าไม้จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการกระจายของฝน ระยะเวลาที่ฝนตกรวมทั้งปริมาณน้ำฝนทำให้ป่าแต่ละแห่งมีความชุ่มชื้นต่างกัน สามารถจำแนกได้เป็น 2ใหญ่ ๆ คือ
ก. ป่าประเภทที่ไม่ผลัดใบ (Evergreen)
ข. ป่าประเภทที่ผลัดใบ (Deciduous)

ประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้
ป่าไม้มีประโยชน์มากมายต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่.
ประโยชน์ทางตรง (Direct Benefits) ได้แก่ ปัจจัย 4 ประการ
1. จากการนำไม้มาสร้างอาคารบ้านเรือนและผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เฟอร์นิเจอร์ กระดาษ ไม้ขีดไฟ ฟืน เป็นต้น
2. ใช้เป็นอาหารจากส่วนต่าง ๆ ของพืชและผล
3. ใช้เส้นใยที่ได้จากเปลือกไม้และเถาวัลย์มาถักทอเป็นเครื่องนุ่งห่ม เชือกและอื่น ๆ
4. ใช้ทำยารักษาโรคต่าง ๆ



ประโยชน์ทางอ้อม (Indirect Benefits)
1. ป่าไม้เป็นเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารเพราะต้นไม้จำนวนมากในป่าจะทำให้น้ำฝนที่ตกลงมาค่อย ๆ ซึมซับลงในดินกลายเป็นน้ำใต้ดินซึ่งจะไหลซึมมาหล่อเลี้ยงให้แม่น้ำ ลำธารมีน้ำไหลอยู่ตลอดปี
2. ป่าไม้ทำให้เกิดความชุ่มชื้นและควบคุมสภาวะอากาศ ไอน้ำซึ่งเกิดจากการหายใจของพืช ซึ่งเกิดขึ้นอยู่มากมายในป่าทำให้อากาศเหนือป่ามีความชื้นสูงเมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงไอน้ำเหล่านั้นก็จะกลั่นตัวกลายเป็นเมฆแล้วกลายเป็นฝนตกลงมา ทำให้บริเวณที่มีพื้นป่าไม้มีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ฝนตกต้องตามฤดูกาลและไม่เกิดความแห้งแล้ง
3. ป่าไม้เป็นแหล่งพักผ่อนและศึกษาความรู้ บริเวณป่าไม้จะมีภูมิประเทศที่สวยงามจากธรรมชาติรวมทั้งสัตว์ป่าจึงเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจได้ดี นอกจากนั้นป่าไม้ยังเป็นที่รวมของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์จำนวนมาก จึงเป็นแหล่งให้มนุษย์ได้ศึกษาหาความรู้
4. ป่าไม้ช่วยบรรเทาความรุนแรงของลมพายุและป้องกันอุทกภัย โดยช่วยลดความเร็วของลมพายุที่พัดผ่านได้ตั้งแต่ ๑๑-๔๔ % ตามลักษณะของป่าไม้แต่ละชนิด จึงช่วยให้บ้านเมืองรอดพ้นจากวาตภัยได้ซึ่งเป็นการป้องกันและควบคุมน้ำตามแม่น้ำไม่ให้สูงขึ้นมารวดเร็วล้นฝั่งกลายเป็น
อุทกภัย
5. ป่าไม้ช่วยป้องกันการกัดเซาะและพัดพาหน้าดิน จากน้ำฝนและลมพายุโดยลดแรงปะทะลงการหลุดเลือนของดินจึงเกิดขึ้นน้อย และยังเป็นการช่วยให้แม่น้ำลำธารต่าง ๆ ไม่ตื้นเขินอีกด้วย นอกจากนี้ป่าไม้จะเป็นเสมือนเครื่องกีดขวางตามธรรมชาติ จึงนับว่ามีประโยชน์ในทางยุทธศาสตร์ด้วยเช่นกัน

สาเหตุสำคัญของวิกฤตการณ์ป่าไม้ในประเทศไทย
1. การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า ตัวการของปัญหานี้คือนายทุนพ่อค้าไม้ เจ้าของโรงเลื่อย เจ้าของโรงงานแปรรูปไม้ ผู้รับสัมปทานทำไม้และชาวบ้านทั่วไป ซึ่งการตัดไม้เพื่อเอาประโยชน์จากเนื้อไม้ทั้งวิธีที่ถูกและผิดกฎหมาย ปริมาณป่าไม้ที่ถูกทำลายนี้นับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามอัตราเพิ่มของจำนวนประชากร ยิ่งมีประชากรเพิ่มขึ้นเท่าใด ความต้องการในการใช้ไม้ก็เพิ่มมากขึ้น เช่น ใช้ไม้ในการปลูกสร้างบ้านเรือนเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตรกรรมเครื่องเรือนและถ่านในการหุงต้ม เป็นต้น
2. การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อเข้าครอบครองที่ดิน เมื่อประชากรเพิ่มสูงขึ้น ความต้องการใช้ที่ดินเพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินก็อยู่สูงขึ้น เป็นผลผลักดันให้ราษฎรเข้าไปบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ แผ้วถางป่า หรือเผาป่าทำไร่เลื่อนลอย นอกจากนี้ยังมีนายทุนที่ดินที่จ้างวานให้ราษฎรเข้าไปทำลายป่าเพื่อจับจองที่ดินไว้ขายต่อไป
3. การส่งเสริมการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการส่งออก เช่น มันสำปะหลัง ปอ เป็นต้น โดยไม่ส่งเสริมการใช้ที่ดินอย่างเต็มประสิทธิภาพทั้ง ๆ ที่พื้นที่ป่าบางแห่งไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการเกษตร

4. การกำหนดแนวเขตพื้นที่ป่ากระทำไม่ชัดเจนหรือไม่กระทำเลยในหลาย ๆ พื้นที่ ทำให้ราษฎรเกิดความสับสนทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา ทำให้เกิดการพิพาทในเรื่องที่ดินทำกินและที่ดินป่าไม้อยู่ตลอดเวลาและมักเกิดการร้องเรียนต่อต้านในเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน
5. การจัดสร้างสาธารณูปโภคของรัฐ เช่น เขื่อน อ่างเก็บน้ำ เส้นทางคมนาคม การสร้างเขื่อนขวางลำน้ำจะทำให้พื้นที่เก็บน้ำหน้าเขื่อนที่อุดมสมบูรณ์ถูกตัดโค่นมาใช้ประโยชน์ ส่วนต้นไม้ขนาดเล็กหรือที่ทำการย้ายออกมาไม่ทันจะถูกน้ำท่วมยืนต้นตาย เช่น การสร้างเขื่อนรัชชประภาเพื่อกั้นคลองพระแสงอันเป็นสาขาของแม่น้ำพุมดวง-ตาปี ทำให้น้ำท่วมบริเวณป่าดงดิบซึ่งมีพันธุ์ไม้หนาแน่นประกอบด้วยสัตว์นานาชนิดนับแสนไร่ ต่อมาจึงเกิดปัญหาน้ำเน่าไหลลงลำน้ำพุมดวง
6. ไฟไหม้ป่า มักจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งอากาศแห้งและร้อนจัด ทั้งโดยธรรมชาติและจากการกระทำของมะม่วงที่อาจลักลอบเผาป่าหรือเผลอ จุดไฟทิ้งไว้โดยเฉพาะในป่าไม้เป็นจำนวนมาก
7. การทำเหมืองแร่ แหล่งแร่ที่พบในบริเวณที่มีป่าไม้ปกคลุมอยู่ มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดหน้าดินก่อนจึงทำให้ป่าไม้ที่ขึ้นปกคลุมถูกทำลายลง เส้นทางขนย้ายแร่ในบางครั้งต้องทำลายป่าไม้ลงเป็นจำนวนมาก เพื่อสร้าง ถนน หนทาง การระเบิดหน้าดิน เพื่อให้ได้มาซึ่งแร่ธาตุ ส่งผลถึงการทำลายป่า

สาเหตุของการเกิดไฟป่า

ไฟป่าเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ
1. เกิดจากธรรมชาติ
ไฟป่าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่นฟ้าผ่า กิ่งไม้เสียดสีกัน ภูเขาไฟระเบิด ก้อนหินกระทบกัน แสงแดดตกกระทบผลึกหิน แสงแดดส่องผ่านหยดน้ำ ปฏิกิริยาเคมีในดินป่าพรุ การลุกไหม้ในตัวเองของสิ่งมีชีวิต (Spontaneous Combustion) แต่สาเหตุที่สำคัญ คือ
1.1 ฟ้าผ่า เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดไฟป่าในเขตอบอุ่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศแคนาดา พบว่ากว่าครึ่งหนึ่งของไฟป่าที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากฟ้าผ่า ทั้งนี้โดยที่ฟ้าผ่าแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
(1) ฟ้าผ่าแห้ง (Dry or Red Lightning) คือฟ้าผ่าที่เกิดขึ้นในขณะที่ไม่มีฝนตก มักเกิดในช่วงฤดูแล้ง สายฟ้าจะเป็นสีแดง เกิดจากเมฆที่เรียกว่าเมฆฟ้าผ่า ซึ่งเมฆดังกล่าวจะมีแนวการเคลื่อนตัวที่แน่นอนเป็นประจำทุกปี ฟ้าผ่าแห้งเป็นสาเหตุสำคัญของไฟป่าในเขตอบอุ่น
(2) ฟ้าผ่าเปียก (Wet or Blue Lightning) คือฟ้าผ่าที่เกิดควบคู่ไปกับการเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง (Thunderstorm) ดังนั้นประกายไฟที่เกิดจากฟ้าผ่าจึงมักไม่ทำให้เกิดไฟไหม้ หรืออาจเกิดได้บ้างแต่ไม่ลุกลามไปไกล เนื่องจากความชื้นสัมพัทธ์และความชื้นของเชื้อเพลิงสูง ฟ้าผ่าในเขตร้อนรวมถึงประเทศไทยมักจะเป็นฟ้าผ่าเปียก จึงแทบจะไม่เป็นสาเหตุของไฟป่าในเขตร้อนนี้เลย
1.2 กิ่งไม้เสียดสีกัน อาจเกิดขึ้นได้ในพื้นที่ป่าที่มีไม้ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและมีสภาพอากาศแห้งจัด เช่น ในป่าไผ่หรือป่าสน

2. สาเหตุจากมนุษย์
ไฟป่าที่เกิดในประเทศกำลังพัฒนาในเขตร้อนส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจากกิจกรรมของมนุษย์ สำหรับประเทศไทยจากการเก็บสถิติไฟป่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528-2542 ซึ่งมีสถิติไฟป่าทั้งสิ้น 73,630 ครั้ง พบว่าเกิดจากสาเหตุตามธรรมชาติคือฟ้าผ่าเพียง 4 ครั้ง เท่านั้น คือเกิดที่ภูกระดึง จังหวัดเลย ที่ห้วยน้ำดัง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ท่าแซะ จังหวัดชุมพร และที่เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา แห่งละหนึ่งครั้ง ดังนั้นจึงถือได้ว่าไฟป่าในประเทศไทยทั้งหมดเกิดจากการกระทำของคน โดยมีสาเหตุต่างๆ กันไป ได้แก่
2.1 เก็บหาของป่า เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟป่ามากที่สุด การเก็บหาของป่าส่วนใหญ่ได้แก่ ไข่มดแดง เห็ด ใบตองตึง ไม้ไผ่ น้ำผึ้ง ผักหวาน และไม้ฟืน การจุดไฟส่วนใหญ่เพื่อให้พื้นป่าโล่ง เดินสะดวก หรือให้แสงสว่างในระหว่างการเดินทางผ่านป่าในเวลากลางคืน หรือจุดเพื่อกระตุ้นการงอกของเห็ด หรือกระตุ้นการแตกใบใหม่ของผักหวานและใบตองตึง หรือจุดเพื่อไล่ตัวมดแดงออกจากรัง รมควันไล่ผึ้ง หรือไล่แมลงต่างๆ ในขณะที่อยู่ในป่า
2.2 เผาไร่ เป็นสาเหตุที่สำคัญรองลงมา การเผาไร่ก็เพื่อกำจัดวัชพืชหรือเศษซากพืชที่เหลืออยู่ภายหลังการเก็บเกี่ยว ทั้งนี้เพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกในรอบต่อไป ทั้งนี้โดยปราศจากการทำแนวกันไฟและปราศจากการควบคุม ไฟจึงลามเข้าป่าที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง
2.3 แกล้งจุด ในกรณีที่ประชาชนในพื้นที่มีปัญหาความขัดแย้งกับหน่วยงานของรัฐในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องที่ทำกินหรือถูกจับกุมจากการกระทำผิดในเรื่องป่าไม้ ก็มักจะหาทางแก้แค้นเจ้าหน้าที่ด้วยการเผาป่า
2.4 ความประมาท เกิดจากการเข้าไปพักแรมในป่า ก่อกองไฟแล้วลืมดับ หรือทิ้งก้นบุหรี่ลงบนพื้นป่า เป็นต้น
2.5 ล่าสัตว์ โดยใช้วิธีไล่เหล่า คือจุดไฟไล่ให้สัตว์หนีออกจากที่ซ่อน หรือจุดไฟเพื่อให้แมลงบินหนีไฟ นกชนิดต่างๆ จะบินมากินแมลง แล้วดักยิงนกอีกทอดหนึ่ง หรือจุดไฟเผาทุ่งหญ้า เพื่อให้หญ้าใหม่แตกระบัด ล่อให้สัตว์ชนิดต่างๆ เช่น กระทิง กวาง กระต่าย มากินหญ้า แล้วดักรอยิงสัตว์นั้นๆ
2.6 เลี้ยงปศุสัตว์ ประชาชนที่เลี้ยงปศุสัตว์แบบปล่อยให้หากินเองตามธรรมชาติ มักลักลอบจุดไฟเผาป่าให้โล่งมีสภาพเป็นทุ่งหญ้าเพื่อเป็นแหล่งอาหารสัตว์
2.7 ความคึกคะนอง บางครั้งการจุดไฟเผาป่าเกิดจากความคึกคะนองของผู้จุด โดยไม่มีวัตถุประสงค์ใดๆ แต่จุดเล่นเพื่อความสนุกสนาน เท่านั้น

ตารางแสดงพื้นที่ไฟไหม้ป่าในแต่ละจังหวัด ปีงบประมาณ 2553

ตารางแสดงพื้นที่ไฟไหม้ป่าในแต่ละจังหวัด ปีงบประมาณ 2553
(ได้รับรายงานระหว่างตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 ถึงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2553)
ส่วนควบคุมไฟป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช








จากแผนภูมิแสดงพื้นที่ไฟไหม้ป่าของภาคเหนือ ปรากฏว่าจังหวัดเชียงใหม่มีการเกิดไฟไหม้ป่าเป็นจำนวนมากที่สุด คือ 270 ครั้ง โดยมีพื้นที่ที่ได้รับความเสียหาย เป็นจำนวน 1,731 ไร่ อาจเป็นเพราะ จังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีภูเขา และป่าเขามากจึงมีโอกาสที่จะเกิดไฟไหม้ป่ามาก และเป็นภูมิภาคที่มีประชากรอาศัยอยู่ตามภูเขาเป็นจำนวนมาก ชาวเขาอาจมีการทำไร่ จึงมีการเผาป่าเพื่อที่จะทำไร่ ปลูกพืช

ตารางแสดงพื้นที่ไฟไหม้ป่าในแต่ละจังหวัด(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ปีงบประมาณ 2553

ตารางแสดงพื้นที่ไฟไหม้ป่าในแต่ละจังหวัด ปีงบประมาณ 2553
(ได้รับรายงานระหว่างตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 ถึงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2553)
ส่วนควบคุมไฟป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช










จากแผนภูมิแสดงพื้นที่ไฟไหม้ป่าของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปรากฏว่า จังหวัดที่เกิดไฟไหม้ป่ามากที่สุด คือ จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 35 ครั้ง เป็นพื้นที่เสียหาย 631 ไร่ อาจเป็นเพราะว่า จังหวัดชัยภูมิเป็นจังหวัดที่มีป่าภูเขามาก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่แห้งแล้งจึงมีโอกาสที่จะเกิดไฟไหม้ป่าได้มาก

ตารางแสดงพื้นที่ไฟไหม้ป่าในแต่ละจังหวัด(ภาคกลาง) ปีงบประมาณ 2553

ตารางแสดงพื้นที่ไฟไหม้ป่าในแต่ละจังหวัด ปีงบประมาณ 2553
(ได้รับรายงานระหว่างตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 ถึงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2553)
ส่วนควบคุมไฟป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช










จากแผนภูมิแสดงพื้นที่ไฟไหม้ป่าของภาคกลาง ปรากฏว่า จังหวัดที่มีการเกิดไฟไหม้ป่ามากที่สุด คือ จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 53 ครั้ง เป็นผลให้เกิดพื้นที่เสียหาย 396 ครั้ง อาจเป็นผลมาจาก จังหวัดกาญจนบุรีลักษณะทางภูมิประเทศส่วนใหญ่จะเป็นป่า ซึ่งจะมีทั้งป่าดงดิบและป่าโปร่ง จึงอาจมีโอกาสทำให้เกิดไฟไหม้ป่าได้บ่อยกว่าจังหวัดอื่นๆ

ตารางแสดงพื้นที่ไฟไหม้ป่าในแต่ละจังหวัด(ภาคใต้) ปีงบประมาณ 2553

ตารางแสดงพื้นที่ไฟไหม้ป่าในแต่ละจังหวัด ปีงบประมาณ 2553
(ได้รับรายงานระหว่างตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 ถึงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2553)
ส่วนควบคุมไฟป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช








จากแผนภูมิแสดงพื้นที่ไฟไหม้ป่าของภาคใต้ ปรากฏว่า มีเพียงจังหวัดเดียวที่เกิดไฟไหม้ป่า คือจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 32 ครั้ง และมีพื้นที่เสียหายกว่า 497 ไร่ อาจเป็นเพราะเนื่องจากภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่า และภูเขาสลับซับซ้อน จึงมีโอกาสที่จะทำให้เกิดไฟไหม้ป่าสูงกว่าจังหวัดอื่นๆในภูมิภาค

เปรียบเทียบการเกิดไฟไหม้ป่า ปีงบประมาณ 2552 – 2553

เปรียบเทียบการเกิดไฟไหม้ป่า ปีงบประมาณ 2552 – 2553








การประเมินพื้นที่ป่าที่ถูกไฟไหม้ในระหว่างปี 2535-2552







จากแผนภูมิการประเมินพื้นที่ป่าที่ถูกไฟไหม้ในระหว่างปี 2535 – 2552 จะพบว่า ในสมัยก่อนมีปัญหาการเกิดไฟไหม้ป่าเป็นจำนวนมาก เพราะสมัยก่อนป่าไม้ยังมีความอุดมสมบูรณ์และยังไม่มีการบุกรุกจากมนุษย์มากเหมือนในปัจจุบันนี้ ทำให้ป่าไม้มีมากมาย ส่งผลให้เกิดไฟไหม้ป่าได้ง่าย สำหรับในสถานการณ์ปัจจุบันนี้การเกิดไฟไหม้ป่ามีไม่มากนักหากเทียบกับสมัยก่อน เพราะในปัจจุบันมีการบุกรุกป่าไม้ ตัดไม้ทำลาย นำพื้นที่ป่าไม้มาสร้างรีสอร์ท สร้างสนามกอล์ฟ จึงทำให้ป่าไม้ลดลงมาก ไม่มีต้นไม้มาช่วยทำให้อากาศบริสุทธิ์ จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนอีกด้วย


วันเสาร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2553

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะในการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย ได้มีข้อเสนอแนะ ดังนี้
๑. ควรให้ชุมชนและหน่วยงานในท้องถิ่นสามารถเรียนรู้การนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาใช้ร่วมกันในการสนับสนุนการจัดการเพื่อลดความเสี่ยงจากไฟป่าหรือกำหนดยุทธศาสตร์ ในการบริหารจัดการทรัพยากรเชิงพื้นที่ของแต่ละชุมชนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
๒. ควรให้มีการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทุกภาคส่วนในสังคมให้มีความรู้และตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนพัฒนาระบบการบริหารจัดการแก้ไขปัญหา ไฟป่า ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
๓. ควรให้มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ป้องกันไฟป่าพร้อมกันทั่วประเทศในทุกรูปแบบ ได้แก่ จัดหน่วยประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชน เอกสาร สิ่งตีพิมพ์ จัดนิทรรศการ และให้การศึกษาแก่เยาวชนตามโรงเรียนต่าง ๆ เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจแก่เยาวชนและประชาชน ตลอดจนสร้างความตระหนักถึงผลกระทบของไฟป่า
๔. ควรควบคุมไฟป่าในพื้นที่ป่าอนุรักษ์และป่าสงวนแห่งชาติอย่างจริงจัง โดยให้ดำเนินการตามมาตรการควบคุมป้องกัน การแจ้งเตือนสถานการณ์ และการเตรียมความพร้อม ในการระงับเหตุไฟป่า โดยประสานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน และหน่วยทหารในพื้นที่ในการปฏิบัติการ กรณีเกิดวิกฤตไฟป่าขึ้น ตลอดจนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลรักษาพื้นที่และป้องกันไฟป่าอย่างเป็นรูปธรรม
๕. ควรให้มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ และจัดทาข้อมูลข่าวสาร เผยแพร่สถานการณ์ไฟป่าอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนทราบถึงแนวทางการป้องกันการเกิดไฟป่า การแก้ไขปัญหาหากเกิดไฟป่า การระมัดระวังอันตรายจากไฟป่า และผลกระทบจากไฟป่าที่มีต่อสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม โดยการจัดให้มีศูนย์เฝ้าระวัง และเตือนภัยในหมู่บ้านและชุมชน ให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในเบื้องต้นก่อน
๖. ควรปรับปรุงข้อมูลในพื้นที่ที่เสี่ยงภัย แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหา ไฟป่า ตลอดจนแผนระดมพลดับไฟป่าให้เป็นปัจจุบัน เพื่อให้สามารถนาไปใช้ปฏิบัติได้จริง โดยเน้นการบูรณาการ รวมทั้งมาตรการด้านการควบคุม การป้องกัน การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร การแจ้งเตือน การฝึกซ้อมแผน และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง


อ้างอิง
http://www.dnp.go.th/forestfire/2546/firestatist%20th.htm(เวบสถิติ)